Single Axis Robot

Single Axis Robot  เป็นอุปกรณ์ ที่ทำให้การเคลื่อนที่เชิงเส้น

เป็นไปได้อย่างราบรื่น   ซึ่งสามารถใช้การเคลื่อนที่ได้หลากหลายวิธี 

1. Ballscrew  Set

2. Rack & Pinion Set

3. Belt Drive Set

ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยวิธีการใดก็ยังจำเป็นจะต้องมี Linear Guideway รองรับภาระโหลด หรือน้ำหนัก เพื่อทำให้อุปกรณ์ที่ใช้การเคลื่อนที่รับหน้าที่เพียง พาวิ่ง และหยุดเท่านั้น 

ดังนั้นการออกแบบ และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จำเป็นจะต้องทำให้อยู่ใน Alinement เดียวกัน นั้นหมายความว่าตัว Ballscrew และ Guideway จะต้องขนาดกันอย่างสมบูรณ์  เพื่อให้การเคลื่อนที่เป็นไปด้วยความราบรื่นไม่ติดขัดเพราะ Alinement Mechanic part

ทั้งนี้เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้งสำหรับงานที่ขนาดไม่ใหญ่มาก หรือ ภาระโหลด ที่ประมาณ 1-100 kg  เราจะถึงได้ออกแบบ Single Axis ขึ้นเพื่อให้ ทุกท่านสามารถนำไปเลือกใช้งานได้ ตามต้องการ

แกนของเครื่องจักร CNC

เครื่องจักร CNC โดยทั่วไปจะมีการการเคลื่อนที่อยู่ 2 แนว คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear Axes) และการเคลื่อนที่ในแนวหมุนรอบแกน (Rotary Axes)

 

1. การคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear Axes)

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงจะมีอยู่ 2 แกน คือ แกน X และแกน Z สำหรับเครื่องกลึง CNC ทั่วๆ ไป 

และ 3 แกน คือ แกน X แกน Y และแกน Z สำหรับเครื่องกัด CNC. ซึ่งในแต่ละแกนก็จะแบ่งออกเป็น 2 ทิศทาง คือ ทิศทางในแนวบวก(+) และ ทิศทางในแนวลบ (-)
การกำหนดแกนและทิศทางของเครื่องจักร CNC จะอาศัยกฎมือขวา ดังรูปต่อไปนี้

รูปแสดงกฎมือขวาในการอ้างอิงแกนและทิศทางของเครื่องจักร CNC

 

แกนของเครื่องกัด CNC เพลาตั้ง (Vertical CNC Milling Machine)

แกนและทิศทางของเครื่องกัด CNC ชนิดเพลาตั้ง กำหนดได้ดังนี้

 
แกนและทิศทางของเครื่องกัด CNC ชนิดเพลาตั้ง
    ให้สังเกตว่าไม่ว่าจะเป็นเครื่องกัดหรือเครื่องกลึงแกน Z จะอยู่แนวเดียวกับทิศทางของเพลาหลักเสมอ จากรูปแกนและทิศทางของเครื่องกัด CNC ชนิดเพลาตั้ง จะเห็นว่าแกน Z เมื่อเคลื่อนออกจากแท่นวางชิ้นงานขึ้นด้านบนจะมีทิศทางเป็น (+Z) และเมื่อเคลื่อนที่ลงด้านล่างก็จะมีทิศทางเป็น (-Z), แกน Y เมื่อเคลืิ่อนที่เข้าหาตัวเครื่องกัดก็จะมีทิศทางเป็น (+Y) และเคลื่อนที่ออกมาหาผู้ปฏิบัติงานก็จะเป็น (-Y) และแกน X เมื่อเคลื่อนที่ไปทางด้านขวาก็จะเป็น (+X) และเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายก็จะเป็น (-X) ซึ่งเป็นไปตามกฎมือขวา.
*จากรูปไม่ได้แสดงทิศทางในแนวแกนลบ (-) โดยแกนลบจะเป็นทิศทางในทางตรงกันข้ามกับแกนบวกของแต่ละในแนวแกน
 

แกนของเครื่องกลึง CNC  (Axes of CNC Lathe Machine)

แกนและทิศทางของเครื่องกลึง CNC ก็หลักการของกฏมือขวาเช่นเดียวกัน โดยให้สังเกตแกน (-Z) จะเคลื่อนที่เข้าหาเพลาหลักของเครื่องกลึง CNC . สำหรับรูปที่แสดงจะเป็นเครื่องกลึง CNC แบบสองแกน คือจะมีแค่แกน X และแกน Z เท่านั้น
แกนและทิศทางของเครื่องกลึง CNC
 2. การเคลื่อนที่หมุนรอบแกน (Rotary Axes)
การเคลื่อนที่ในแนวหมุนรอบแกนจะระบุโดยใช้อักษร A, B และ C โดยที่ A แทนการหมุนรอบแกน X, B แทนการหมุนรอบแกน Y และ C แทนการหมุนรอบแกน Z ส่วนการกำหนดทิศทางจะเป็นบวกเมื่อมีการหมุนทวนเข็มนาฬิกา

การกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่หมุนในแนวรอบแกน
3. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง+แนวหมุนรอบแกน (Linear Axes+Rotary Axes) เครื่องจักร CNC บางชนิดจะมีการเคลื่อนที่ผสมผสานทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุนรอบแกน ดังรูปด้านล่าง เป็นเครื่องจักร Machining Center ชนิดเพลานอน 4 แกน ซึ่งประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง 3 แกน คือ แกน X แกน Y และแกน Z, ส่วนการ B เป็นการเคลื่อนที่ในแนวหมุนรอบแกน Y


เครื่องจักร CNC Machining Center ชนิดเพลานอน 4 แกน
เครื่องจักร CNC ชนิด Machining Center ชนิดเพลาตั้ง  5แกน ก็จะมีแกนในแนวหมุนรอบแกนเพิ่มมา 2 แกน คือ แกน C และแกน B
 
ต่อไปนี้เป็นเครื่องจักร CNC ชนิดต่างๆ ซึ่งจะมีแกนที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของเครื่องจักร
เครื่องจักร CNC Machining Center ชนิดเพลาตั้ง 5 แกน
 
เครื่องจักร CNC Machining Center Universal ชนิด 5 แกน
เครื่องจักร CNC Machining Center Universal ชนิด 5 แกน

เครื่องจักร CNC Machining Center ชนิดเพลานอน 5 แกน
 
เครื่องจักร CNC Machining Center ชนิดเพลานอน 5 แกน
Visitors: 6,334